วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

ความชื้นในการฟักไข่(Humidity for incubation)

ความชื้นสัมพัทธ์(relative humidity) เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการฟักไข่  ถ้าความชื้นต่ำมากเกินไปก็จะทำให้น้ำที่อยู่ในไข่ระเหยออกได้มากจนไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงตัวอ่อน และทำให้เยื่อชั้นในที่กั้นระหว่างตัวออ่นกับเปลือกไข่แห้งตามไปด้วย เป็นผลทำให้ตัวอ่อนตายได้ง่ายหรือติดกับเปลือกไข่จนไม่สามารถออกได้ตามปรกติ และถ้าความชื้นสูงมากเกินไปก็จะเป็นสภาพตรงกันข้าม คือมีส่วนที่เป็นน้ำในไข่มากกว่าปรกติ จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตัวอ่อนตายได่้จากการหายใจเอาส่วนที่เป็นน้ำและแก๊สเข้าไป ถ้าเกิดได้ก็จะอาจจะเกิดก่อนกำหนดและไม่แข็งแรงหรืออาจจะพิการได้ อาการนี้จะสังเกตุได้จากตอนที่ออกจากเปลือกไข่แล้วตัวจะเปียกแฉะ หลังจาก 3 ชั่วโมงแล้วขนก็ไม่ฟูและตายในที่สุด

ตามธรรมชาติที่แม่สัตว์ปีกฟักไข่ เราพบว่าความชื้นในรังไข่เคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ที่ 50-75%RH และตามข้อมูลทางวิชาการที่ทำการวิจัย ได้ออกมาว่าความชื้นสัมพัทธ์ที่ดีที่สุด คือ 60%RH

ตู้ฟักไข่"ตราไก่แจ้" จึงใช้ตัวเลขนี้เป็นตัวอ้างอิง โดยใช้ถาดใส่น้ำที่มีลักษณะเป็นช่องเหมือนตาหมากรุก เพื่อให้ปรับพื้นที่ผิวการระเหยของน้ำให้ควบคุมความชื้นได้ตามต้องการ
                                                           


ตามข้อมูลของสถาบัน WPSA(World's Poultry Science Association) บอกว่าไข่ไก่ที่อยู่ในตู้ฟักเป็นเวลา 21 วันที่ความชื้นพอดี(ประมาณ 60%RH) จะต้องสูญเสียน้ำหน้กไป 12-14%  หมายถึง ถ้าน้ำหนักไข่ไข่ลดลงน้อยกว่า 11 % ก็แสดงว่าความชื้นสูงเกินไป และถ้าน้ำหนักไข่หายไปมากกว่า 15%ก็หมายถึงความชื้นต่ำมากเกินไป จึงจำเป็นที่จะต้องปรับความความชื้นให้ได้ตามความต้องการด้วย

                                                                    
ถ้านำไข่มาส่องดู จะสังเกตเห็นช่องว่างที่เป็นอากาศ(air sack or air pocket)ที่อยู่ทางด้านป้านของไข่ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนวันที่อยู่ในตู้ฟัก ซึ่งเกิดจากการระเหยของน้ำในไข่ ทำให้เนื้อในไข่ยุบเหลือน้อยลง 

ตามรูปขนาดที่ถูกต้องของการฟักถึงวันที่ 19 ส่วนที่ว่างที่เป็นช่องอากาศจะมีอยู่ประมาณ 1 ใน 3


***ก็พอสรุปได้ประมาณนี้ ครับ***